วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15
วันพฤหัสบดี ที่ 8 มีนาคม 2555


ความรู้ที่ได้รับ
 - วันนี้ส่งงานที่อาจารย์สั่งงานที่มอบหมายให้ทำ จากอาทิตย์ที่แล้ว 
 - กลุ่มฉัน ต้องนำแก้ไข เรื่องการขีดช่อง ต้องใช้ปากกาที่มีเส้นบาง หนา เหมือนกัน แก้ไขหน้าปก โดยไม่ต้องมีชื่อสมาชิกแต่ทำให้เป็นปกนิทาน  
- ฉันและเพื่อนอีก 2 คน ลงไปช่วยอาจารย์เคลื่อนย้ายของห้องข้างล่าง










งานที่ได้รับมอบหมาย

- ส่งงานอาจารยือาทิตย์หน้า

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14
วันพฤหัสบดี ที่ 1 มีนาคม 2555


ความรู้ที่ได้รับ
 -วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนอผลงานทุกกลุ่ม  จากงานคั่งค้างจากอาทิตย์ที่แล้ว


งานที่ได้รับมอบหมาย
- อาจารย์ได้มอบหมายงาน  ให้นำกระดาษที่อาจารย์แจกให้ในแต่ละกลุ่มไปทำหนังสือ Big  Book ซึ่งอาจารย์ก็ได้กำหนดหัวข้อ  มันคืออะไร จากงานที่สั่งจากอาทิตยืที่แล้ว  และบัตรคำ ให้สมบูรณ์แบบและ ให้นักศึกษาส่งในสัปดาห์หน้า 
 
ข้อเนอแนะ 

 - อาจารย์ได้แนะนำการนำเสนอ ที่ดี เป็นอย่างไร






 บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 
 วันพฤหัสบดี ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555


ความรู้ที่ได้รับ
- วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอ งานที่ให้เด็กตัดปะ ภาพ ให้ตรงกับรูปภาพ  เช่น


อะไร เป็น  เครื่องใช้ไฟฟ้า ?
จากนั้นเราก็อาจจะมี เครื่องใช้ไฟฟ้า ให้เด็กได้เลือก ตัด ปะ เราก็ตัดให้น้องดู เพื่อให้น้องเห็นเทคนิคการตัด ปะ ภาพ 

งานที่ได้รับมอบหมาย 
 - อาทิตย์หน้านำเสนอ งานเก่าสำหรับคนที่ยังไม่ได้นำเสนอ 
บันทึกการเรียนครั้งที่ 12 
วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2555


ความรู้ที่ได้รับ
 -  วันนี้อาจารย์ให้วาดรูปคนละ 1 รูป แล้วมาเล่าเป็นเรื่องราว ต่อจากเพื่อนๆโดยให้สัมพันธ์กับภาพที่ตนเองวาด 
- วาดรูปให้เกิดเป้นคำใหม่ๆ 
- ทำท่าทางตามพยางค์ชื่อของตนเอง และทำท่าทางของเพื่อน ด้วยเพื่อฝึกให้ประสบการณ์ของเด็ก และการใช้ หู ตา สังเกต 
- ทำบัตรคำ พยัญชนะ พร้อมเสียงสระ ที่อาจารย์จัดให้พยัญชนะ อยู่ในกลุ่มเสียงใด 


 งานที่ได้รับมอบหมาย
     - 


ข้อเสนอแนะ 
 - ลักษณะภาษา  เนื้อหาของภาษาได้แก่ หัวข้อชื่อเรื่อง หรือความหมายของสารที่จะใช้สื่อกับผู้อื่น ประกอบด้วยชื่อคน สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ ความสัมพันธ์ 

ภาพกิจกรรม การเล่านิทานจากรูปภาพต่อกันเป็นเรื่องราว

ทำให้เกิดคำใหม่ขึ้น  ตอ + ไม้ = ตอไม้

คำใต้รูปภาพ

บัตรคำ 


วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 
วันพฤหัสบดี ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555
 ความรู้ที่ไดรับ
 - การเข้าเรียน และการเข้าร่วมกีฬาสีเอก
 - อาจารย์จ๋าสอนการทำหนังสือภาพ โดย 
1. เลือกความคิดรวบยอดให้เด็กมีประสบการณ์
2. การสร้างภาพปริศนา 
 เช่น
 ฉัน ตั้ง ชื่อ มัน ว่า ดิ้งด่อง 
ดิ้งด่อง เป็น สิ่งมีชีวิต และ มี สี่ ขา 
มันคืออะไร
เพื่อนตอบว่า''หมา''
 หมา เป็น สิ่ง มีชีวิต และมีสี่ขา 
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"
ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา และ ตัวโตโต
 มันคืออะไร
เพื่อนตอบว่า"ช้าง"
ช้าง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา และตัวโตโต 
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"
ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต  มี สี่ ขา ตัว โตโต และ มี เขา 
มันคืออะไร 
เพื่อนตอบว่า"วัว"
 วัว เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต และ มี เขา 
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่" 
ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน 
มันคืออะไร 
เพื่อนตอบว่า"ควาย"
 ควาย เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน 
ฉันตอบว่า"ใช่ ดิ้งด่อง คือ ควาย"
 ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน 
เพื่อน เก่ง จัง เลย  
 

 - อาจารย์ให้ทำหนังสือภาพ  โดยกลุ่มละ 4 คน  

 งานที่ได้รับมอบหมาย
  - ทำนิทานมา เป้นรูปเล่ม 
 ข้อเนอแนะ 
 -  การทำนิทาน ควรตั้งความหมายให้กว้างก่อน 

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 
วันพฤหัสบดี ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555




- วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน 
บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 
วันพฤหัสบดีที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555



หมายเหตุ*  ไม่มาเรียนเนื่องจากไม่สบาย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วันพฤหัสบดีที่ 26 เดือน มกราคม พ.ศ.2555

ความรู้ที่ได้
 -  มนุษย์ใช้การสื่อสารระหว่างกันด้วยวิธีการหลายรุปแบบ  วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด  คือ การใช้ภาษาพุดและการเขียน  การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาดังกล่าว  จะช่วยให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น  ตลอดจนการแสดงออกถึงความต้องการส่งและรับข่าวสาร  การแสดงออกถึงความรู้สึกและการเข้าใจผู้อื่น     
-  สิ่งที่ครูสอนเด็กปฐมวัยจะต้องตระหนัก  และมีความรู้เพื่อนำไปใช้ในการช่วยพัฒนาการทางภาษาของเด็ก  ก็คือ  ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาทั้งในด้านภาษาศาสตร์  ด้านการนำไปใช้  ตลอดจนแนวปฏิบัติในการจัดประสบการณ์ทางภาาาให้แก่เด็ก 
 -  ฟังและพูด  โดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ  การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษาจะทำให้เด็กเข้าใจ  และใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่  เมื่ออายุได้ 4 หรือ 5 ปี
   
บลูมเเละฮาเลย์ ได้ให้ความหมายของภาษาไว้ 3 ประการคือ
1.ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัสที่ใช้เเทนสิ่งของ สถานที่ กิริยาอาการ เเละเหตุการณ์ต่างๆ เช่น เด็กกินขนม
2.ภาษาเป็นสัญลักษณ์ของมโนมติ เกี่ยวกับโลกหรือประมวลประสบการณ์ เช่น บ้าน ประเทศ ความโศกเศร้า
3.ภาษาเป็นระบบ ภาษามีระบบกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างจะคงที่ เช่น มีคำที่เป็นประธาน กริยา กรรม
  สรุปได้ดังนี้ ภาษาคือ สัญลักษณ์ที่มนุษย์ในสังคมหนึ่งๆ สร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารเเละทำความเข้าใจซึ่งกันเเละกัน

  
งานที่ได้รับมอบหมาย
   -
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 
วันพฤหัสบดี ที่ 22 มกราคม 2555

ความรู้ที่ได้
-วันนี้อาจารย์ได้เปิดวีดีโอโทรทัศน์ครูให้นักศึกษาดู  เกี่ยวกับเรื่องการจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย   ใช้วรรณกรรม....เรื่องหนูน้อยหมวกแดง
- การเล่านิทานเขาจะใช้เทคนิคในการเล่าโดยร้องเพลงเป็นขั้นนำก่อนเล่านิทาน
กิจกรรมสร้างสรรค์ทำให้เด็กรู้จัก ตัวละคร ฉาก และรู้จักลำดับเหตุการณ์  บทบาทครูต้องสนับสนุนเด็กให้กำลังใจเด็กเสมอ

 งานที่ได้รับมอบหมาย
- ฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ  วิมังสา  คืออะไร
และ ให้วิเคราะห์การใช้วรรณกรรมเป็นฐาน
- สมัครโทรทัศน์ครูและลิ้งค์เกี่ยวกับภาษาที่เกี่ยวกับเด็ก
บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันพฤหัสบดี ที่ 12 มกราคม 2555

ความรู้ที่ได้รับ
- วันนี้ นำเสนองานเป็น Powerpoint ที่ไปเล่านิทานให้น้องฟัง 
-กลุ่มฉันได้เล่า นิทานเรื่อง   ชาวประมงกับปลา  ให้ กับน้องฟางอายุ 5 ขวบ 


เนื้อเรื่องมีอยู่ว่า
ชาวประมงคนหนึ่งออกไปหาปลาที่แม่น้ำแห่งหนึ่ง ในตอนแรกเขานำขลุ่ยขึ้นมาเป่าโดยคิดว่าจะหลอกให้ปลาผุดขึ้นมาเต้นรำฟังเสียงขลุ่ยจนเผลอตัวแล้วจึงค่อยจับเอามาเป็นอาหาร แต่กลับไม่มีปลาสักตัวเดียวผุดขึ้นมาให้เห็น ดังนั้นชาวประมงจึงทอดแหเหวี่ยงลงไปในน้ำ ปรากฏว่า มีปลาติดมาเป็นจำนวนมาก พวกปลาพากันกระโดดไปมาอยู่ในร่างแห“พวกเจ้านี่แปลกจริง” ชาวประมงกล่าว “เมื่อข้าเป่าขลุ่ยให้ฟังกลับพากันสงบนั่ง ครั้นติดอยู่ในร่างแหจึงชวนกันเต้นรำเป็นที่สนุกสนาน คราวต่อไปข้าไม่จำเป็นต้องนำขลุ่ยติดมาด้วยอีกแล้ว”

เมื่อเล่านิทานให้น้องฟางฟังแล้ว จึงถามน้องฟาง ว่า
- ชาวประมงไปหาอะไร 
น้องตอบว่า"ไปหาปลา"
- ชาวประมงนำอะไรไปเป่าให้ปลาฟัง
น้องตอบว่า "ขลุ่ย"
- เมื่อชาวประมงเป่าขลุ่ยให้ฟังแล้ว ได้ปลาไหม
น้องตอบว่า "ไม่ได้" จึงถามต่อไปอีกว่า ทำไมไม่ได้  น้องตอบอีกว่า "ก็ปลามันไม่ขึ้นมาเต้นรำ"

ในขณะที่เล่านิทานให้น้องฟางฟัง ได้สังเกตพฤติกรรมของน้องฟาง
น้องฟางตั้งใจฟังดี แต่ยังมีหันซ้ายหันขวา บางครั้งก็ทำหน้าอมยิ้ม แต่เมื่อเวลาถามน้องฟางก็สามารถตอบได้  

ข้อเสนอแนะ 
- อาจารย์เสนอแนะว่า คำถามอาจจะง่ายไปแต่ก็เป็นคำถามที่ถามเด็กได้ แต่ถ้าจะให้ดี ก็ควรจะถามแล้วให้เด็กได้แสดงเหตุผล และข้อคิดมากกว่านี้


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันพฤหัสบดี ที่  5 มกราคม 2555 

ความรู้ที่ได้รับ
-วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำ Powerpoint  เกี่ยวกับนิทานที่นักศึกษาไปเล่าให้เด็กปฐมวัยฟังแล้วนำเสนอสัปดาห์ถัดไป

สิ่งที่ค้นคว้ามา
 หลักการเลือกนิทานที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย             • เหมาะสมกับวัย : เด็กในแต่ละวัยจะมีความสนใจฟังเรื่องราวต่างๆ แตกต่างกันไปตามความสามารถในการรับรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรเป็นหนังสือภาพ สมุดภาพ หนังสือภาพผสมคำ นิทานที่มีบทร้อยกรอง ในขณะที่นิทานที่เหมาะกับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ควรเป็นนิทานที่มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับธรรมชาติ นิทานเรื่องเล่าที่ให้ข้อคิด
        • ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ : การเลือกหนังสือต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ ในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กด้วย เช่น สอนให้รู้จักคำเรียกชื่อสิ่งของต่างๆ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกพัฒนาความคิด จินตนาการ ให้ความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก มีความตลกขบขันให้ความสนุกสนาน ช่วยแก้ปัญหาให้กับตัวเด็ก เมื่อเปรียบเทียบตนเองกับตัวละคร เป็นต้น การอ่านเรื่องราว หรือเนื้อหาทั้งเล่มก่อนตัดสินใจเลือก จึงเป็นสิ่งสำคัญ
          
 • เนื้อหาและลักษณะรูปเล่ม : นิทานหรือหนังสือที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นเรื่องสั้นๆง่ายๆ และไม่ซับซ้อน มีจุดเด่นของเนื่องจุดเดียว เด็กดูภาพหรือฟังเรื่องราวเข้าใจได้ และสนุกสนาน มีเนื้อเรื่องที่ชัดเจน ชวนติดตาม เป็นเรื่องที่เกี่นวกับตัวเด็ก และใกล้ชิดตัวเด็ก หรือธรรมชาติแวดล้อม ไม่มีการบรรยายเนื้อเรื่อง ควรมีลักษณะเป็นบทสนทนาโต้ตอบระหว่างตัวละคร ใ้ช้ภาษาที่ถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจของเด็ก ตัวอักษรมีขนาดใหญ่ ใช้สีเข้มอ่านได้ชัดเจน มีภาพประกอบที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง เป็นภาพที่มีสีสันสวยงามมีชีวิตชีวา ส่วนใหย๋จะเป็นภาพเขียนหรือวาดมากกว่าภาพถ่าย มีรูปเล่มที่แข็งแรงทนทาน ขนาดพอเหมาะกับมือเด็ก ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมเสมอไป และมีจำนวนหน้าประมาณ 10-20 หน้า 

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4 
วันพฤหัสบดี ที่ 29 ธันวาคม 2554

ความรู้ที่ได้รับ
- วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนส่งงานที่ได้รับมอบหมายและจากนั้น ให้นักศึกษาไปดูกิจกรรมวันปีใหม่ของเด็กๆที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 
- สัปดาห์หน้าให้นักศึกษานำเสนองานของตัวเอง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3
วันพฤหัสบดี  ที่  22  ธันวาคม 2554
ความรู้ที่ได้รับ
-วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอรายงาน ที่มอบหมายไว้สัปดาห์ที่แล้ว และงานที่บางกลุ่มยังไม่ได้นำเสนอ  อาจารย์ได้อธิบายพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนที่นักศึกษาไปสัมภาษณ์มา
-  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กทางภาษา โดยมีสองภาษา  ครูควรทำความเข้าใจว่าการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งและการเรียนรู้ภาษาที่สองมีลักษณะที่คล้ายหรือแตกต่างกันอย่างไร  สำหรับเด็กปฐมวัยที่พูดภาษาถิ่นเป็นภาษาที่หนึ่ง และพูดภาษาไทยกลางเป็นภาษาที่สอง สามารถในการใช้ภาษาของตนและภาษาสากลได้เป็นอย่างดี 

งานที่ได้รับมอบหมาย
-อาจารย์ให้ไปเล่านิทานให้เด็กฟังพร้องตั้งคำถามถามเด็ก3ข้อและสังเกตพฤติกรรมของเด็ก และนำเสนอ 
-อาจารย์ให้นักศึกษาสืบค้นประวัตินักการศึกษาที่เกี่ยวกับเรื่องของภาษาส่งสัปดาห์หน้า

ข้อเสนอแนะ
- อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะ การเล่านิทานให้เด็กฟังว่า ควรใช้คำถามที่ถามแล้วให้เด็กคิดอย่างมีเหตุผล เกี่ยวกับลำดับเหตุผล การถามแล้วตอบ มีการตอบสนองในการฟังอย่างไร 
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  2
วันพฤหัสบดี ที่ 15 ธันวาคม 2554


ความรู้ที่ได้รับ 
อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
- คำว่า "การจัดประสบการณ์"  ควรมีเทคนิค หลักการ ขั้นตอน ในการสร้างประสบการณ์ให้กับเด็กๆ ให้เกิดการเรียนรู้ไปด้วย 
- ภาษา คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน
- พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง(รู้ว่าอายุเท่าไหนทำไรได้บ้าง)
- การจัดประสบการณ์ทางภาษาคือการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง และคือพัฒนาการที่แสดงออกทาง


  พฤติกรรมทั้ง4ด้าน
-วิธีการเรียนรู้ คือ การสังเกต การสัมผัส การฟัง การดมกลิ่น การลิ้มรส ครูควรให้เด็กคิดอย่างอิสระ และให้เกิดการเรียนรู้

  งานที่ได้รับมอบหมาย 

-ให้นักศึกษาจับคู่และไปสัมภาษณ์เด็กโดยการถ่ายวีดีโอ  ส่งสัปดาห์หน้าพร้อมนำเสนอเป็นพาวเวอร์พ้อย
  
บันทึกการเรียน ครั้งที่ 1
วันพฤหัสบดี ที่ 8 ธันวาคม 2554


-วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม
และอาจารย์สั่งให้นักศึกษานำดอกดาวเรืองมา 4 คนต่อ 1 ต้น