วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 
วันพฤหัสบดี ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555




- วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน 
บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 
วันพฤหัสบดีที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555



หมายเหตุ*  ไม่มาเรียนเนื่องจากไม่สบาย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วันพฤหัสบดีที่ 26 เดือน มกราคม พ.ศ.2555

ความรู้ที่ได้
 -  มนุษย์ใช้การสื่อสารระหว่างกันด้วยวิธีการหลายรุปแบบ  วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด  คือ การใช้ภาษาพุดและการเขียน  การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาดังกล่าว  จะช่วยให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น  ตลอดจนการแสดงออกถึงความต้องการส่งและรับข่าวสาร  การแสดงออกถึงความรู้สึกและการเข้าใจผู้อื่น     
-  สิ่งที่ครูสอนเด็กปฐมวัยจะต้องตระหนัก  และมีความรู้เพื่อนำไปใช้ในการช่วยพัฒนาการทางภาษาของเด็ก  ก็คือ  ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาทั้งในด้านภาษาศาสตร์  ด้านการนำไปใช้  ตลอดจนแนวปฏิบัติในการจัดประสบการณ์ทางภาาาให้แก่เด็ก 
 -  ฟังและพูด  โดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ  การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษาจะทำให้เด็กเข้าใจ  และใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่  เมื่ออายุได้ 4 หรือ 5 ปี
   
บลูมเเละฮาเลย์ ได้ให้ความหมายของภาษาไว้ 3 ประการคือ
1.ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัสที่ใช้เเทนสิ่งของ สถานที่ กิริยาอาการ เเละเหตุการณ์ต่างๆ เช่น เด็กกินขนม
2.ภาษาเป็นสัญลักษณ์ของมโนมติ เกี่ยวกับโลกหรือประมวลประสบการณ์ เช่น บ้าน ประเทศ ความโศกเศร้า
3.ภาษาเป็นระบบ ภาษามีระบบกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างจะคงที่ เช่น มีคำที่เป็นประธาน กริยา กรรม
  สรุปได้ดังนี้ ภาษาคือ สัญลักษณ์ที่มนุษย์ในสังคมหนึ่งๆ สร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารเเละทำความเข้าใจซึ่งกันเเละกัน

  
งานที่ได้รับมอบหมาย
   -
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 
วันพฤหัสบดี ที่ 22 มกราคม 2555

ความรู้ที่ได้
-วันนี้อาจารย์ได้เปิดวีดีโอโทรทัศน์ครูให้นักศึกษาดู  เกี่ยวกับเรื่องการจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย   ใช้วรรณกรรม....เรื่องหนูน้อยหมวกแดง
- การเล่านิทานเขาจะใช้เทคนิคในการเล่าโดยร้องเพลงเป็นขั้นนำก่อนเล่านิทาน
กิจกรรมสร้างสรรค์ทำให้เด็กรู้จัก ตัวละคร ฉาก และรู้จักลำดับเหตุการณ์  บทบาทครูต้องสนับสนุนเด็กให้กำลังใจเด็กเสมอ

 งานที่ได้รับมอบหมาย
- ฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ  วิมังสา  คืออะไร
และ ให้วิเคราะห์การใช้วรรณกรรมเป็นฐาน
- สมัครโทรทัศน์ครูและลิ้งค์เกี่ยวกับภาษาที่เกี่ยวกับเด็ก
บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันพฤหัสบดี ที่ 12 มกราคม 2555

ความรู้ที่ได้รับ
- วันนี้ นำเสนองานเป็น Powerpoint ที่ไปเล่านิทานให้น้องฟัง 
-กลุ่มฉันได้เล่า นิทานเรื่อง   ชาวประมงกับปลา  ให้ กับน้องฟางอายุ 5 ขวบ 


เนื้อเรื่องมีอยู่ว่า
ชาวประมงคนหนึ่งออกไปหาปลาที่แม่น้ำแห่งหนึ่ง ในตอนแรกเขานำขลุ่ยขึ้นมาเป่าโดยคิดว่าจะหลอกให้ปลาผุดขึ้นมาเต้นรำฟังเสียงขลุ่ยจนเผลอตัวแล้วจึงค่อยจับเอามาเป็นอาหาร แต่กลับไม่มีปลาสักตัวเดียวผุดขึ้นมาให้เห็น ดังนั้นชาวประมงจึงทอดแหเหวี่ยงลงไปในน้ำ ปรากฏว่า มีปลาติดมาเป็นจำนวนมาก พวกปลาพากันกระโดดไปมาอยู่ในร่างแห“พวกเจ้านี่แปลกจริง” ชาวประมงกล่าว “เมื่อข้าเป่าขลุ่ยให้ฟังกลับพากันสงบนั่ง ครั้นติดอยู่ในร่างแหจึงชวนกันเต้นรำเป็นที่สนุกสนาน คราวต่อไปข้าไม่จำเป็นต้องนำขลุ่ยติดมาด้วยอีกแล้ว”

เมื่อเล่านิทานให้น้องฟางฟังแล้ว จึงถามน้องฟาง ว่า
- ชาวประมงไปหาอะไร 
น้องตอบว่า"ไปหาปลา"
- ชาวประมงนำอะไรไปเป่าให้ปลาฟัง
น้องตอบว่า "ขลุ่ย"
- เมื่อชาวประมงเป่าขลุ่ยให้ฟังแล้ว ได้ปลาไหม
น้องตอบว่า "ไม่ได้" จึงถามต่อไปอีกว่า ทำไมไม่ได้  น้องตอบอีกว่า "ก็ปลามันไม่ขึ้นมาเต้นรำ"

ในขณะที่เล่านิทานให้น้องฟางฟัง ได้สังเกตพฤติกรรมของน้องฟาง
น้องฟางตั้งใจฟังดี แต่ยังมีหันซ้ายหันขวา บางครั้งก็ทำหน้าอมยิ้ม แต่เมื่อเวลาถามน้องฟางก็สามารถตอบได้  

ข้อเสนอแนะ 
- อาจารย์เสนอแนะว่า คำถามอาจจะง่ายไปแต่ก็เป็นคำถามที่ถามเด็กได้ แต่ถ้าจะให้ดี ก็ควรจะถามแล้วให้เด็กได้แสดงเหตุผล และข้อคิดมากกว่านี้


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันพฤหัสบดี ที่  5 มกราคม 2555 

ความรู้ที่ได้รับ
-วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำ Powerpoint  เกี่ยวกับนิทานที่นักศึกษาไปเล่าให้เด็กปฐมวัยฟังแล้วนำเสนอสัปดาห์ถัดไป

สิ่งที่ค้นคว้ามา
 หลักการเลือกนิทานที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย             • เหมาะสมกับวัย : เด็กในแต่ละวัยจะมีความสนใจฟังเรื่องราวต่างๆ แตกต่างกันไปตามความสามารถในการรับรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรเป็นหนังสือภาพ สมุดภาพ หนังสือภาพผสมคำ นิทานที่มีบทร้อยกรอง ในขณะที่นิทานที่เหมาะกับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ควรเป็นนิทานที่มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับธรรมชาติ นิทานเรื่องเล่าที่ให้ข้อคิด
        • ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ : การเลือกหนังสือต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ ในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กด้วย เช่น สอนให้รู้จักคำเรียกชื่อสิ่งของต่างๆ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกพัฒนาความคิด จินตนาการ ให้ความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก มีความตลกขบขันให้ความสนุกสนาน ช่วยแก้ปัญหาให้กับตัวเด็ก เมื่อเปรียบเทียบตนเองกับตัวละคร เป็นต้น การอ่านเรื่องราว หรือเนื้อหาทั้งเล่มก่อนตัดสินใจเลือก จึงเป็นสิ่งสำคัญ
          
 • เนื้อหาและลักษณะรูปเล่ม : นิทานหรือหนังสือที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นเรื่องสั้นๆง่ายๆ และไม่ซับซ้อน มีจุดเด่นของเนื่องจุดเดียว เด็กดูภาพหรือฟังเรื่องราวเข้าใจได้ และสนุกสนาน มีเนื้อเรื่องที่ชัดเจน ชวนติดตาม เป็นเรื่องที่เกี่นวกับตัวเด็ก และใกล้ชิดตัวเด็ก หรือธรรมชาติแวดล้อม ไม่มีการบรรยายเนื้อเรื่อง ควรมีลักษณะเป็นบทสนทนาโต้ตอบระหว่างตัวละคร ใ้ช้ภาษาที่ถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจของเด็ก ตัวอักษรมีขนาดใหญ่ ใช้สีเข้มอ่านได้ชัดเจน มีภาพประกอบที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง เป็นภาพที่มีสีสันสวยงามมีชีวิตชีวา ส่วนใหย๋จะเป็นภาพเขียนหรือวาดมากกว่าภาพถ่าย มีรูปเล่มที่แข็งแรงทนทาน ขนาดพอเหมาะกับมือเด็ก ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมเสมอไป และมีจำนวนหน้าประมาณ 10-20 หน้า 

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4 
วันพฤหัสบดี ที่ 29 ธันวาคม 2554

ความรู้ที่ได้รับ
- วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนส่งงานที่ได้รับมอบหมายและจากนั้น ให้นักศึกษาไปดูกิจกรรมวันปีใหม่ของเด็กๆที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 
- สัปดาห์หน้าให้นักศึกษานำเสนองานของตัวเอง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3
วันพฤหัสบดี  ที่  22  ธันวาคม 2554
ความรู้ที่ได้รับ
-วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอรายงาน ที่มอบหมายไว้สัปดาห์ที่แล้ว และงานที่บางกลุ่มยังไม่ได้นำเสนอ  อาจารย์ได้อธิบายพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนที่นักศึกษาไปสัมภาษณ์มา
-  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กทางภาษา โดยมีสองภาษา  ครูควรทำความเข้าใจว่าการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งและการเรียนรู้ภาษาที่สองมีลักษณะที่คล้ายหรือแตกต่างกันอย่างไร  สำหรับเด็กปฐมวัยที่พูดภาษาถิ่นเป็นภาษาที่หนึ่ง และพูดภาษาไทยกลางเป็นภาษาที่สอง สามารถในการใช้ภาษาของตนและภาษาสากลได้เป็นอย่างดี 

งานที่ได้รับมอบหมาย
-อาจารย์ให้ไปเล่านิทานให้เด็กฟังพร้องตั้งคำถามถามเด็ก3ข้อและสังเกตพฤติกรรมของเด็ก และนำเสนอ 
-อาจารย์ให้นักศึกษาสืบค้นประวัตินักการศึกษาที่เกี่ยวกับเรื่องของภาษาส่งสัปดาห์หน้า

ข้อเสนอแนะ
- อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะ การเล่านิทานให้เด็กฟังว่า ควรใช้คำถามที่ถามแล้วให้เด็กคิดอย่างมีเหตุผล เกี่ยวกับลำดับเหตุผล การถามแล้วตอบ มีการตอบสนองในการฟังอย่างไร 
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  2
วันพฤหัสบดี ที่ 15 ธันวาคม 2554


ความรู้ที่ได้รับ 
อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
- คำว่า "การจัดประสบการณ์"  ควรมีเทคนิค หลักการ ขั้นตอน ในการสร้างประสบการณ์ให้กับเด็กๆ ให้เกิดการเรียนรู้ไปด้วย 
- ภาษา คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน
- พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง(รู้ว่าอายุเท่าไหนทำไรได้บ้าง)
- การจัดประสบการณ์ทางภาษาคือการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง และคือพัฒนาการที่แสดงออกทาง


  พฤติกรรมทั้ง4ด้าน
-วิธีการเรียนรู้ คือ การสังเกต การสัมผัส การฟัง การดมกลิ่น การลิ้มรส ครูควรให้เด็กคิดอย่างอิสระ และให้เกิดการเรียนรู้

  งานที่ได้รับมอบหมาย 

-ให้นักศึกษาจับคู่และไปสัมภาษณ์เด็กโดยการถ่ายวีดีโอ  ส่งสัปดาห์หน้าพร้อมนำเสนอเป็นพาวเวอร์พ้อย
  
บันทึกการเรียน ครั้งที่ 1
วันพฤหัสบดี ที่ 8 ธันวาคม 2554


-วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม
และอาจารย์สั่งให้นักศึกษานำดอกดาวเรืองมา 4 คนต่อ 1 ต้น